วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

หัวบล็อก


วิชาการงานอาชีพ

การเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีมุ่งพัฒนาผู้เรียนแบบองค์รวม เพื่อให้มีความรู้ความสามารถ มีทักษะในการทำงาน เห็นแนวทางในการประกอบอาชีพและการศึกษาต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
  • การดำรงชีวิตและครอบครัว เป็นสาระเกี่ยวกับการทำงานในชีวิตประจำวัน ช่วยเหลือตนเอง ครอบครัว และสังคมได้ในสภาพเศรษฐกิจที่พอเพียง ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม เน้นการปฏิบัติจริง จนเกิดความมั่นใจและภูมิใจในผลสำเร็จของงาน เพื่อให้ค้นพบความสามารถ ความถนัด และความสนใจของตนเอง
  • การออกแบบและเทคโนโลยี เป็นสาระการเรียนรู้ที่เกี่ยวกับการพัฒนาความสามารถของมนุษย์อย่างสร้างสรรค์ โดยนำความรู้มาใช้กับกระบวนการเทคโนโลยี สร้างสิ่งของ เครื่องใช้ วิธีการ หรือเพิ่มประสิทธิภาพในการดำรงชีวิต
  • เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นสาระเกี่ยวกับกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ การติดต่อสื่อสาร การค้น หาข้อมูล การใช้ข้อมูลและสารสนเทศ การแก้ปัญหาหรือการสร้างงาน คุณค่าและผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
  • การอาชีพ เป็นสาระที่เกี่ยวข้องกับทักษะที่จำเป็นต่ออาชีพ เห็นความสำคัญของคุณธรรม จริยธรรม และเจตคติที่ดีต่ออาชีพ ใช้เทคโนโลยีได้เหมาะสม เห็นคุณค่าของอาชีพสุจริต และเห็นแนวทางในการประกอบอาชีพ

วิชาคริสต์ศาสนา

 พิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ ในความหมายของคาทอลิกคือเครื่องหมายภายนอกที่แสดงพระพรของพระเจ้ามาสู่มนุษย์ ทำให้ศักดิ์สิทธิ์

      ชีวิตเริ่มต้นด้วยพิธีล้างบาป เจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ด้วยพิธีรับพระจิต วิญญาณของเราได้รับการรักษาทางใจและกายด้วยพิธีอภัยบาปและ พิธีเจิมคนไข้ ครอบครัวเริ่มต้นด้วยพิธีสมรส พระศาสนจักรจะคงอยู่ได้ด้วยพิธีบวช และพระเยซูสถิตกับเราในพิธีบูชาขอบพระคุณ ทั้งหมดนี้เป็นพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ที่พระเยซูทรงตั้งขึ้นในโลก

      พระองค์ตรัสว่ามนุษย์จะต้องเกิดใหม่ด้วยน้ำและพระจิตเจ้า เพื่อเข้าพระอาณาจักรของพระองค์(ยน 3:5) พระองค์ทรงประทานพระจิตเจ้า(ยน 20:22) พระองค์ทรงอภัยบาปบุตรของพระองค์(มก 2:5) พระเยซูทรงปรารถนาให้เราดำเนินชีวิตในสันติสุข (มก 5:34) ทรงนำคนสองคนมาอยู่รวมกันและอวยพรพวกเขา (มธ  13:6) พระองค์ทรงเรียกนักบุญเปโตรมาเป็นผู้ช่วยคนแรกของพระองค์และประทานพระกายและพระโลหิตของพระองค์ให้เป็นอาหารของพวกเขา(ยน 6:56) ทุกสิ่งที่พระองค์ทรงกระทำนั้น ยังคงกระทำอยู่จนถึงวันนี้

  • พิธีล้างบาป พิธีรับพระจิตและพิธีบูชาขอบพระคุณ เป็นการให้พระพรศักดิ์สิทธิ์แห่งชีวิตและประกาศข่าวดีแก่ชาวโลก
  • พิธีอภัยบาปและพิธีเจิมคนไข้ เป็นการรักษาโรคร้ายของเราทั้งกายและจิตใจ
  • พิธีสมรสและพิธีบวช เป็นการเผื่อแผ่ควาสมสุขให้แก่ผู้อื่น
     พิธีทั้งหมดนี้เป็นเรื่องของความเชื่อและบำรุงความเชื่อ จึงไม่ใช่เป็นเพียงแต่การรับเท่านั้น แต่เป็นการเฉลิมฉลองและการดำเนินชีวิต

     เราได้รับในโลกนี้ พระเจ้าทรงประทานจากเบี้องบน

     พระเยซูคริสตเจ้าทรงช่วยเราให้รอดพ้นจากความทุกข์และมีความสุขแท้ อาศัยพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์เหล่านี้

วิชาวิทยาศาสตร์

วิทยาศาสตร์ [note 1] หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ในธรรมชาติทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต รวมทั้งกระบวนการประมวลความรู้เชิงประจักษ์ ที่เรียกว่ากระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และกลุ่มขององค์ความรู้ที่ได้จากกระบวนการดังกล่าว
การศึกษาในด้านวิทยาศาสตร์ยังถูกแบ่งย่อยออกเป็น วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ และ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ คำว่า science ในภาษาอังกฤษ ซึ่งแปลว่า วิทยาศาสตร์นั้น มาจากภาษาลาติน คำว่า scientia ซึ่งหมายความว่า ความรู้ ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ฟรานซิส เบคอนได้พยายามคิดค้นวิธีมาตรฐานในการอุปนัย เพื่อนำมาใช้สร้างทฤษฎีหรือกฎต่าง ๆ ทางวิทยาศาสตร์จากข้อมูลที่ทดลองหรือสังเกตได้จากธรรมชาติ เป็นผู้ถอนรื้อและปรับปรุงแนวความคิดเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สมัยเก่า ที่ยึดกับแนวความคิดของอริสโตเติลทิ้งไป. ณ ขณะนั้น กาลิเลโอได้กำหนดลักษณะสำคัญของวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ไว้ดังนี้
  • ทำนายสิ่งที่เกิดขึ้นในปรากฏการณ์ธรรมชาติได้ โดยที่ไม่จำเป็นต้องอธิบายสาเหตุได้ เช่น ในขณะที่ยังไม่มีความรู้เรื่องแรงโน้มถ่วงนั้น กาลิเลโอไม่สนใจที่จะอธิบายว่า "ทำไมวัตถุถึงตกลงสู่พื้นดิน ?" แต่สนใจคำถามที่ว่า "เมื่อมันตกแล้ว มันจะถึงพื้นภายในเวลาเท่าใด ?"
  • ใช้คณิตศาสตร์เพื่อเป็นภาษาหลักของวิทยาศาสตร์ (ดูหัวข้อ คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์)
ในเวลาต่อมา ไอแซก นิวตันได้ต่อเติมรากฐานและระบบระเบียบของแนวคิดเหล่านี้ และเป็นต้นแบบสำหรับสาขาด้านอื่น ๆ ของวิทยาศาสตร์
ก่อนหน้านั้น, ในปี ค.ศ. 1619 เรอเน เดส์การตส์ ได้เริ่มเขียนความเรียงเรื่อง Rules for the Direction of the Mind (ซึ่งเขียนไม่เสร็จ). โดยความเรียงชิ้นนี้ถือเป็นความเรียงชิ้นแรกที่เสนอกระบวนการคิดเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สมัยใหม่และปรัชญาสมัยใหม่. อย่างไรก็ตามเนื่องจากเดส์การตส์ได้ทราบเรื่องที่กาลิเลโอ ผู้มีความคิดคล้ายกับตนถูกเรียกสอบสวนโดย โป๊ปแห่งกรุงโรม ทำให้เดส์การตส์ไม่ได้ตีพิมพ์ผลงานชิ้นนี้ออกมาในเวลานั้น
การพยายามจะทำให้ระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์เป็นระบบนั้น ต้องพบกับปัญหาของการอุปนัย ที่ชี้ให้เห็นว่าการคิดแบบอุปนัย (ซึ่งเริ่มต้นโดยฟรานซิส เบคอน) นั้น ไม่ถูกต้องตามหลักตรรกศาสตร์. เดวิด ฮูมได้อธิบายปัญหาดังกล่าวออกมาอย่างละเอียด คาร์ล พอพเพอร์ในความคิดลักษณะเดียวกับคนอื่น ๆ ได้พยายามอธิบายว่าสมมติฐานที่จะใช้ได้นั้นจะต้องทำให้เป็นเท็จได้ (falsifiable) นั่นคือจะต้องอยู่ในฐานะที่ถูกปฏิเสธได้ ความยุ่งยากนี้ทำให้เกิดการปฏิเสธความเชื่อพื้นฐานที่ว่ามีระเบียบวิธี 'หนึ่งเดียว' ที่ใช้ได้กับวิทยาศาสตร์ทุกแขนง และจะทำให้สามารถแยกแยะวิทยาศาสตร์ ออกจากสาขาอื่นที่ไม่เป็นวิทยาศาสตร์ได้
ปัญหาเกี่ยวกระบวนการปฏิบัติของวิทยาศาสตร์มีความสำคัญเกินขอบเขตของวงการวิทยาศาสตร์ หรือวงการวิชาการ ในระบบยุติธรรมและในการถกเถียงปัญหาเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะ การศึกษาที่ใช้วิธีการนอกเหนือจาก แนวปฏิบัติทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นที่ยอมรับ จะถูกปฏิเสธ และถูกจัดว่าเป็น "วิทยาศาสตร์เทียม"

วิชาดนตรี

ความรู้ทางดนตรี

ดนตรี
คือ เสียงที่จัดเรียงอย่างเป็นระเบียบ และมีแบบแผนโครงสร้าง เป็นรูปแบบของกิจกรรมเชิงศิลปะของมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับเสียง โดยดนตรีนั้นแสดงออกมาในด้านระดับเสียง (ซึ่งรวมถึงท่วงทำนองและเสียงประสานจังหวะ และคุณภาพเสียง (ความต่อเนื่องของเสียง พื้นผิวของเสียง ความดังค่อย) ดนตรีนั้นสามารถใช้ในด้านศิลปะหรือสุนทรียศาสตร์ การสื่อสาร ความบันเทิง รวมถึงใช้ในงานพิธีการต่างๆ

องค์ประกอบของดนตรี

ประกอบด้วย
1. เสียง (Tone)
เสียงเกิดจากการสั่นสะเทือนของอากาศที่เป็นไปอย่างสม่ำ เสมอ ส่วนเสียงอึกทึกหรือเสียงรบกวน (Noise) เกิดจากการสั่นสะเทือนของอากาศที่ไม่สม่ำเสมอ ลักษณะความแตกต่างของเสียงขึ้นอยู่กบคุณสมบัติสำคัญ 4ประการ คือ ระดับเสียง ความยาวของเสียง ความเข้มของเสียง และคุณภาพของเสียง
1.1 ระดับเสียง (Pitch) หมายถึง ระดับความสูง-ต่ำของเสียง ซึ่งเกิดการจำนวนความถี่ของการสั่นสะเทือน กล่าวคือ ถ้าเสียงที่มีความถี่สูง ลักษณะการสั่นสะเทือนเร็ว จะส่งผลให้มีระดับเสียงสูง แต่ถ้าหากเสียงมีความถี่ต่ำ ลักษณะการสั่นสะเทือนช้าจะส่งผลให้มีระดับเสียงต่ำ
1.2 ความสั้น-ยาวของเสียง (Duration) หมายถึง คุณสมบัติที่เกี่ยวกับความยาว-สั้นของเสียง ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่สำคัญอย่างยิ่งของการกำหนดลีลา จังหวะ ในดนตรีตะวันตก การกำหนดความสั้น-ยาวของเสียง สามารถแสดงให้เห็นได้จากลักษณะของตัวโน้ต เช่น โน้ตตัวกลม ตัวขาว และตัวดำ เป็นต้น สำหรับในดนตรีไทยนั้น แต่เดิมมิได้ใช้ระบบการบันทักโน้ตเป็นหลัก แต่ย่างไรก็ตาม การสร้างความยาว-สั้นของเสียงอาจสังเกตได้จากลีลาการกรอระนาดเอก ฆ้องวง ในกรณีของซออาจแสดงออกมาในลักษณะของการลากคันชักยาวๆ
1.3 ความเข้มของเสียง (Intensity) ความเข้มของสียงเกี่ยวข้องกับน้ำหนักของความหนักเบาของเสียง ความเข้มของเสียงจะเป็นคุณสมบัติที่ก่อประโยชน์ในการเกื้อหนุนเสียงให้มี ลีลาจังหวะที่สมบูรณ์
1.4 คุณภาพของเสียง (Tone Quality) เกิดจากคุณภาพของแหล่งกำเนิดเสียงที่แตกต่างกัน ปัจจัยที่ทำให้คุณภาพของเสียงเกิดความแตกต่างกันนั้น เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น วิธีการผลิตเสียง รูปทรงของแหล่งกำเนิดเสียง และวัสดุที่ใช้ทำแหล่งกำเนิดเสียง ปัจจัยเหล่านี้ก่อให้เกิดลักษณะคุณภาพของเสียง ซึ่งเป็นหลักสำคัญให้ผู้ฟังสามารถแยกแยะสีสันของสียง (Tone Color) ระหว่างเครื่องดนตรีเครื่องหนึ่งกับเครื่องหนึ่งได้อย่างชัดเจน
1.5 “สีสันของเสียง” (Tone color ) หมายถึง คุณลักษณะของเสียงที่กำเนิดจากแหล่งเสียงที่แตกต่างกัน แหล่งกำเนิดเสียงดังกล่าว เป็นได้ทั้งที่เป็นเสียงร้องของมนุษย์และเครื่องดนตรีชนิดต่างๆ ความแตกต่างของเสียงร้องมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นระหว่างเพศชายกับเพศหญิง หรือระหว่างเพศเดียวกัน ซึ่งล้วนแล้วแต่มีพื้นฐานของการแตกต่างทางด้านสรีระ เช่น หลอดเสียงและกล่องเสียง เป็นต้น

วิชาภาษาจีน

  1. 1. บันทึกหน่วยการเรียนรู้และกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ 1) หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง การสะกดพินอิน เวลา 5 ชั่วโมง รายวิชา ภาษาจีน1 รหัส จ 20201 ระดับชั้น ม.1 (วิชาเลือก) 2) ผลการเรียนรู้ ผลการเรียนรู้ 2 ระบุสัทอักษรตามระบบพินอิน และประสมเสียงคาง่าย ๆตามหลักการออกเสียง ผลการเรียนรู้ 4 ตอบคาถามง่าย ๆ จากการฟัง ผลการเรียนรู้ 7 พูดโต้ตอบด้วยประโยคสั้น ๆ เพื่อสื่อสารระหว่างบุคคล ผลการเรียนรู้ 6 พูดเพื่อขอและให้ข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง เพื่อน ครอบครัวและสิ่งใกล้ตัว 3) ความคิดรวบยอด พูดโต้ตอบสั้นๆ ด้วยถ้อยคาสุภาพ อ่านออกเสียงคา วลี ข้อความ และบทความได้ถูกต้องตามหลักการออกเสียง อีกทั้งเข้าใจความแตกต่างระหว่างภาษาจีนกับภาษาไทยในเรื่องคา วลี สานวน ประโยค ข้อความต่างๆ และนาไปใช้ใน สถานการณ์ต่างๆอย่างถูกต้องเหมาะสม 4) สาระการเรียนรู้ ความรู้(K) – พูดโต้ตอบ – อ่านออกเสียง – เข้าใจ ทักษะกระบวนการ(P) – ถ้อยคาสุภาพตามมารยาท – คา วลี ข้อความ และบทความ – ความแตกต่างระหว่างภาษาจีนกับภาษาไทย คุณลักษณะอันพึงประสงค์ (A) – รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ – ซื่อสัตย์สุจริต 5) สมรรถนะของผู้เรียน – ความสามารถในการจดจา – ความสามารถในการสนทนา 6) ชิ้นงาน/ภาระงาน – พูดสนทนาโต้ตอบ -บอกลักษณะร่างกายของตนเอง เพื่อน และครอบครัวตามบทเรียน
  2. 2. 7) กิจกรรมการจัดการเรียนรู้ ชั่วโมงที่ 1 -2 ขั้นนาเข้าสู่บทเรียน 1. ครูทักทายนักเรียน 2. ครูสอนเกี่ยวกับการบอกชั้นในห้องเรียน 3. อธิบายซ้าหลาย ๆ ครั้งเพื่อให้แน่ใจว่านักเรียนเข้าใจ ขั้นสอน/ฝึกปฏิบัติ 1. ครูสอนวิธีอ่านพยัญชนะในภาษาจีนทั้งหมด 2. ให้นักเรียนฝึกอ่านด้วยตนเองซ้าไปมา 3. สอนเสียงสระจานวน 6 ตัว 4. ให้นักเรียนฝึกอ่านด้วยตนเองซ้าไปมา 5. อธิบายนักเรียนเกี่ยวกับวิธีการประสมเสียงพยัญชนะ ในภาษาจีน b-h กับสระ ทั้ง 6 ตัว เช่น ba mo de ni gu lü ชั่วโมงที่ 3-4 ขั้นนาเข้าสู่บทเรียน 1. ครูทักทายนักเรียน 2. ให้นักเรียนอ่านทบทวนพยัญชนะและสระที่เรียนมาทั้งหมด b p m f p t n l g k h j q x z c s zh ch sh r y w a o e I u ü
  3. 3. ขั้นสอน/ฝึกปฏิบัติ 1. ทบทวนวิธีการประสมเสียงพยัญชนะ ในภาษาจีน b-h กับสระ ทั้ง 6 ตัว 2. อธิบายเกียวกับการผันเสียงในภาษาจีน เช่น bā bá bǎ bà 3. ให้นักเรียนฝึกผันเสียง ซ้า ๆ ไปมา จนแน่ใจว่านักเรียนเริ่มคล่อง 4. เล่นเกมส์ โดยให้คะแนนนักเรียนที่สามารถเขียนตามคาบอกพินอินได้อย่างถูกต้อง ตามหลักการประสม คา 5. สอนเสียงสระเพิ่มให้ครบทั้งหมด โดยอธิบายหลักการออกเสียงที่ถูกต้อง เช่น ai มาจาก เสียง a + i = ai 6. ให้นักเรียนฝึกอ่านด้วยตนเองทั้งหมดซ้าไปมาหลาย ๆ ครั้ง 7. ให้ภาระงานนักเรียน ท่องพยัญชนะ และสระทั้งหมด ชั่วโมงที่ 5-6 ขั้นนาเข้าสู่บทเรียน 1. ครูทักทายนักเรียน 2. ให้นักเรียนอ่านทบทวนพยัญชนะและสระที่เรียนมาทั้งหมด ขั้นสอน/ฝึกปฏิบัติ 1. ทบทวนวิธีการประสมเสียงพยัญชนะ ในภาษาจีน b-h กับสระ ทั้งหมด 2. ครูอธิบายการประสมเสียงพยัญชนะ ในภาษาจีน j-x กับสระ ทั้งหมด เช่น j q x ใช้ได้กับสระ i และ ü หรือสระผสมที่ขึ้นต้นด้วย i และ ü เท่านั้น เช่น ji jü qi xüe หมายเหตุ เนื่องจาก j q x ไม่สามารถผสมกับสระอื่นได้นอกจาก i และ ü ดังนั้นเวลาเขียน สระ ü จึงไม่นิยมใส่ จุด เช่น ju quan xue 3. ตั้งคาถามนักเรียนเพื่อให้นักเรียนเข้าใจหลักเกณฑ์ เช่น j q x ประสมกับสระ aได้ไหม เพราะอะไร 4. ครูอธิบายการประสมเสียงพยัญชนะ ในภาษาจีน z-r กับสระ ทั้งหมด เช่น z c s zh ch sh r ไม่สามารถใช้ผสมได้กับสระ ü หรือสระผสมที่ ขึ้นต้นด้วย i และ ü เท่านั้น เช่น ji jü qi xüe
  4. 4. หมายเหตุ z c s zh ch sh r ผสมได้กับสระ i อ่านว่าออกเสียงเป็น “อือ” เช่น zi ci si shi 5. ตั้งคาถามนักเรียกรนเพื่อให้นักเรียนเข้าใจหลักเกณฑ์ เช่น zh ประสมกับสระ aได้ไหม เพราะอะไร และ zh ประสมกับสระ ia ได้ไหม เพราะอะไร 6. เล่นเกมส์เขียนตามคาบอกบนกระดาน ชั่วโมงที่ 7-8 1. ครูทักทายนักเรียน 2. ให้นักเรียนอ่านทบทวนพยัญชนะและสระที่เรียนมาทั้งหมด ขั้นสอน/ฝึกปฏิบัติ 1. ทบทวนวิธีการประสมเสียงพยัญชนะ ในภาษาจีน กับสระ ทั้งหมด 2. ตั้งคาถามนักเรียนเพื่อให้นักเรียนเข้าใจหลักเกณฑ์การประสมคา เช่น j q x ประสมกับสระ aได้ไหม เพราะอะไร 3. ครูอธิบายการประสมเสียงพยัญชนะ ในภาษาจีน y-w กับสระ ทั้งหมด เช่น y+a=ya w+a=wa y+e=ye w+o=wo y+in=yin w+u=wu y+ing=ying w+ai=wai y+ao=yao w+an=wan y+an=yan w+ang=wang y+ang=yang y+a=yong y+u=yu y+=yue y+a=yun y+a=yuan
  5. 5. 4. ตั้งคาถามนักเรียกรนเพื่อให้นักเรียนเข้าใจหลักเกณฑ์ เช่น y ประสมกับสระ aได้ไหม เพราะอะไร และ w ประสมกับสระ ü ได้ไหม เพราะอะไร 5. เล่นเกมส์เขียนตามคาบอกบนกระดาน 8) ขั้นสรุปการเรียนรู้ 1. ครูทบทวนคาศัพท์และประโยคต่างๆ ทั้งหมดในบทเรียน 2. นักเรียนสนทนาคู่เกี่ยวกับเนื้อหาในบทเรียน 9) การวัดและประเมินผล การประเมินผล เกณฑ์การประเมิน 4 3 2 1 การพูด สื่อสารได้ตรงประเด็น เนื้อหาถูกต้องตามหัวข้อ ที่กาหนด ออกเสียง ถูกต้องใช้คาศัพท์ สานวน และโครงสร้าง ภาษาถูกต้อง สื่อสารได้ตรง ประเด็น เนื้อหาถูกต้อง เป็นส่วนใหญ่ ออกเสียงได้ ถูกต้อง สื่อสารได้ตรง ประเด็นเป็น บางส่วน เนื้อหา และการออกเสียง ถูกต้องเป็นบางส่วน สื่อสารได้ เนื้อหาน้อย ออกเสียง ไม่ถูกต้อง เป็นส่วนใหญ่ การประเมินสาระการเรียนรู้ 1) การประเมินความรู้ (K) วิธีประเมิน เกณฑ์การพูดสนทนา เกณฑ์การอ่านออกเสียง 2) การประเมินทักษะกระบวนการ/ตัวบ่งชี้พฤติกรรม (P) วิธีประเมิน เกณฑ์การประเมินไวยากรณ์และการสะกดคา 3) การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (A) วิธีประเมิน เกณฑ์การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 10) แหล่งเรียนรู้และสื่อประกอบการเรียนรู้ – คอมพิวเตอร์, โทรทัศน์ – ใบความรู้ – ซีดีประกอบการฟัง – แบบฝึกคัดตัวอักษรจีน

วิชาลูกเสือ-เนตรนารี

“เสียชีพอย่าเสียสัตย์” เป็นคำขวัญพระราชทานของลูกเสือ สาระพื้นฐานที่สอนในวิชาลูกเสือระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา คือ กฎของลูกเสือ 10 ข้อได้แก่ 1) ลูกเสือมีเกียรติเชื่อถือได้ 2) ลูกเสือมีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และซื่อตรงต่อผู้มีพระคุณ 3) ลูกเสือมีหน้าที่กระทำตนให้เป็นประโยชน์และช่วยเหลือผู้อื่น 4) ลูกเสือเป็นมิตรของคนทุกคนและเป็นพี่น้องกับลูกเสืออื่นทั่วโลก 5) ลูกเสือเป็นผู้สุภาพเรียบร้อย 6) ลูกเสือมีความเมตตากรุณาต่อสัตว์ 7) ลูกเสือเชื่อฟังคำสั่งของบิดามารดา และผู้บังคับบัญชาด้วยความเคารพ 8) ลูกเสือมีใจร่าเริง และไม่ย่อท้อต่อความยากลำบาก 9) ลูกเสือเป็นผู้มัธยัสถ์ และ 10) ลูกเสือประพฤติชอบด้วยกาย วาจา ใจ

วิชาเทคโนโลยีเเละสารสนเทศ

เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ ไอที (อังกฤษinformation technology: IT) คือการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์โทรคมนาคม เพื่อจัดเก็บ ค้นหา ส่งผ่าน และจัดดำเนินการข้อมูล [1] ซึ่งมักเกี่ยวข้องกับธุรกิจหนึ่งหรือองค์การอื่น ๆ [2] ศัพท์นี้โดยปกติก็ใช้แทนความหมายของเครื่องคอมพิวเตอร์และเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และยังรวมไปถึงเทคโนโลยีการกระจายสารสนเทศอย่างอื่นด้วย เช่นโทรทัศน์และโทรศัพท์ อุตสาหกรรมหลายอย่างเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ตัวอย่างเช่น ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์กึ่งตัวนำ อินเทอร์เน็ต อุปกรณ์โทรคมนาคม การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และบริการทางคอมพิวเตอร์ [3][4] =
มนุษย์รู้จักการจัดเก็บ ค้นคืน จัดดำเนินการ และสื่อสารสารสนเทศมาตั้งแต่ยุคเมโสโปเตเมียโดยชาวซูเมอร์ ซึ่งได้พัฒนา[5]เมื่อประมาณ 3000 ปีก่อนคริสตกาล [5] แต่ศัพท์ [5] ในความหมายสมัยใหม่ ปรากฏขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1958 ในงานพิมพ์ ฮาร์เวิร์ดบิซเนสรีวิว (Harvard Business Review) ซึ่งเขียนโดย [6] และ โทมัส แอล. วิสเลอร์ โดยให้ความเห็นไว้ว่า "เทคโนโลยีใหม่ยังไม่มีชื่อที่ตั้งขึ้นเป็นสิ่งเดียว เราจะเรียกมันว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอที)" คำจำกัดความของศัพท์นี้ประกอบด้วยเทคโนโลยีสามประเภท ได้แก่ เทคนิคเพื่อการประมวลผล การประยุกต์ใช้วิธีการทางสถิติศาสตร์และคณิตศาสตร์เพื่อการตัดสินใจ และการจำลองความคิดในระดับที่สูงขึ้นผ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ [6] = พัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศนั้นอาจแบ่งได้เป็นสี่ยุค ตามเทคโนโลยีการจัดเก็บและการประมวลผลที่ใช้ ได้แก่ ยุคก่อนเครื่องกล (3000 ปีก่อน ค.ศ. – คริสต์ทศวรรษ 1450) ยุคเครื่องกล (1450–1840) ยุคเครื่องกลไฟฟ้า (1840–1940) และยุคอิเล็กทรอนิกส์ (1940–ปัจจุบัน) [5] บทความนี้จะให้ความสำคัญไปที่ยุคล่าสุด (ยุคอิเล็กทรอนิกส์) ซึ่งเริ่มเมื่อประมาณคริสต์ทศวรรษ 1940

วันศุกร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

วิชาศิลปะ

องค์ปะกอบศิลป์
หมายถึง การนำส่วนประกอบต่าง  ของทัศนธาตุต่าง  เช่น  จุด  เส้น  รูปร่าง  รูปทรง  ขนาด  สัดส่วน  แสงเงา  สี  ช่องว่าง  และลักษณะผิว  มาสร้างสรรค์เป็นผลงาน การเรียนรู้องค์ประกอบศิลป์จึงเป็นพื้นฐานสำคัญในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะทุกแขนงเพื่อให้เกิดความงามหรือสื่อความหมายทางศิลปะได้  โดยยึดหลักการจัดดังนี้ 
1.เอกภาพ
2.ความสมดุล
3.ความกลมกลืน(คล้อยตาม,ขัดแย้ง)
4.จุดเด่น,จุดเน้น



ทัศนธาตุ หมายถึงอะไร?
ทัศนธาตุ หมายถึง  ธาตุแห่งการมองเห็นหรือส่วนประกอบต่าง ๆ ที่สำคัญในงานศิลปะหรือทัศนศิลป์ได้แก่ จุด เส้น สี แสงเงา รูปร่าง รูปทรง พื้นผิว เป็นต้น ซึ่งเราสามารถนำส่วนประกอบแต่ละอย่ามาสร้างเป็นงานศิลปะได้ในหลายรูปแบบ ซึ่งก็จะให้ความรู้สึกในการมองเห็นที่แตกต่างกันไป ทัศนธาตุ สามารถสร้างอารมณ์ต่าง ๆ ให้กับคนดู จึงเป็นความรู้พื้นฐาน นับตั้งแต่ จุด เส้น รูปร่าง- รูปทรง แสง เงา น้ำหนักอ่อน – แก่ สี พื้นผิว มักมีปรากฏอยู่ในความงามอันละเอียดอ่อนของธรรมชาติ 
ทัศนธาตุ ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง?
ทัศนธาตุ ประกอบไปด้วย
1.จุด
2.เส้น
3.รูปทรง รูปร่าง
4.นำ้หนักอ่อน-แก่
5.พื้นที่ว่าง
6.พื้นผิว
7.สี


แม่สี หรือสีวัตถุธาตุ


วิชาประวัติศาสตร์

ประวัติศาสตร์ หมายถึง
    - การศึกษาอดีตในช่วงหนึ่งหรือสมัยหนึ่ง
    - เรื่องราวเกี่ยวกับสังคมมนุษย์
    - มีเหตุผลและถูกต้องตามความจริงโดยปราศจากอคติแล้ว  
    - ผ่านวิธีการตรวจสอบข้อเท็จจริง
เฮโรโดตัส (Herodotus ชาวกรีก : 484 – 425 ก่อน ค.ศ.)
    - บิดาแห่งวิชาประวัติศาสตร์
    - บัญญัติคำว่า ประวัติศาสตร์ (History) เป็นภาษากรีก : Historiai แปลว่า ไต่สวน สืบสวน
ผู้วางรากฐานความรู้ทางประวัติศาสตร์ พัฒนาไปสู่ วิธีการทาง  ประวัติศาสตร์
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ : บิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย
 
   คุณสมบัติของนักประวัติศาสตร์
 
1.       มีความเป็นกลาง (Objectiveness or Objectivity)
2.       มีความคิดที่เป็นประวัติศาสตร์ (Historical thinking)
3.       มีความถูกต้องแม่นยำ (Accurary)
4.       มีความเป็นระเบียบในการจัดเก็บและบันทึกข้อมูล (Love of order)
5.       มีลำดับการทำงานที่เป็นตรรกะ(เหตุผล) (Logic)
6.       มีความซื่อสัตย์ในการแสวงหาข้อเท็จจริง (Honesty)
7.       มีความระมัดระวังในการใช้หลักฐาน (Self-awareness)
8.       มีจินตนาการ (Historical imagination)
 การนับศักราชสากล

วิชาสังคมศึกษา

กฎหมายคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค

ประเทศไทยได้มีการบัญญัติกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคหลายฉบับ ที่สำคัญ ได้แก่ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 
พระราชบัญญัติอาหาร 2522 
พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2530 
โดยมีรายละเอียดอย่างย่อๆดังนี้

พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 มีสาระสำคัญที่สรุปได้ดังนี้
1. กำหนดสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้บริโภคจะได้รับ โดยกฎหมายกำหนดไว้ ๕ ประการคือ 
- สิทธิที่จะได้รับข่าวสารรวมทั้งคำพรรณนาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ
- สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกหาสินค้าหรือบริการ 
- สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการ
- สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสียหาย
- สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสียหาย

2. การก่อตั้งสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี 
อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคคือ 
- พิจารณาเรื่องราวร้องทุกข์จากผู้บริโภคที่ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย เนื่องมาจากการกระทำของ     ผู้ประกอบธุรกิจ
- ดำเนินการเกี่ยวกับสินค้าที่อาจเป็นอันตรายแก่ผู้บริโภค และข่าวสารเกี่ยวกับการบริโภคที่ผู้บริโภคควร     ทราบ

3. การกำหนดมาตรการในการคุ้มครองผู้บริโภค มีมาตรการคุ้มครองผู้บริโภค ที่สำคัญได้แก่
การคุ้มครองผู้บริโภคด้านการโฆษณา
การคุ้มครองผู้บริโภคในด้านฉลาก
การคุ้มครองผู้บริโภคในด้านสัญญา



พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522


กำหนดสาระสำคัญ ดังนี้
1. กำหนดให้มีการประกาศให้อาหารใดเป็นอาหารควบคุมเฉพาะ
2. ให้มีคณะกรรมการ คือคณะกรรมการอาหารและยา ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาในกรณีต่างๆ เพื่อควบคุม           คุณภาพของอาหาร
3. กำหนดให้มีการขออนุญาตเพื่อผลิต จำหน่าย หรือนำเข้าเพื่อจำหน่ายอาหาร
4. กำหนดลักษณะของอาหารลักษณะต่างๆ ที่ผิดกฎหมาย หรือห้ามผลิต จำหน่าย หรือนำเข้าเพื่อ                จำหน่าย ได้แก่
    1. อาหารไม่บริสุทธิ์
    2. อาหารปลอม
    3. อาหารผิดมาตรฐาน


พระราชบัญญัติยา (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2530


เนื้อหาสาระที่สำคัญของพระราชบัญญัติยา ได้ กำหนดประเภทของยาไว้หลายประเภทด้วยกันเพื่อสะดวกในการควบคุม และกำหนดให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า คณะกรรมการยาการควบคุมพรบ.ยากำหนดให้มีการควบคุมการผลิต และการขายยาโดยเภสัชกรและผู้ประกอบโรคศิลป แล้วแต่ประเภทของยา

พระราชบัญญัติยา (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2530 ได้แบ่งยาออกเป็น 9 ประเภท คือ
1. ยาแผนปัจจุบัน
2. ยาแผนโบราณ
3. ยาสามัญประจำบ้าน
4. ยาอันตราย
5. ยาควบคุมพิเศษ
6. ยาบรรจุเสร็จ
7. ยาสมุนไพร
8. ยาใช้ภายนอก
9. ยาใช้เฉพาะที่


หน่วยงานของรัฐที่ทำหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภค


1. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ทำหน้าที่ตรวจสอบและคุมภาพของอาหารและยา เช่น อาหารกระป๋อง
เครื่องสำอางและยา

2. สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) มีหน้าที่ให้การคุ้มครองผู้บริโภค เช่น พิจารณาเรื่องราวร้องทุกข์ ของผู้บริโภค
ที่ถูกเอาเปรียบจากผู้ประกอบการ ควบคุมการโฆษณาสินค้า ที่เป็นเท็จ หรือเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค

3. สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ทำหน้าที่ กำหนดมาตรฐานสินค้าอุตสาหกรรม เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ
ภาชนะและเครื่องมือในครัวเรือน

1. กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคที่มีหน้าที่คุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคโดยตรง คือ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 ได้กำหนดให้ผู้บริโภคมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย 5 ประการดังนี้

- สิทธิที่จะได้รับข่าวสารรวมทั้งคำพรรณนาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้า
หรือบริการ
- สิทธิที่จะได้อิสระในการเลือกหาสินค้าหรือบริการ
- สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการ
- สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญา
- สิทธิที่จะได้การพิจารณาและชดเชยความเสียหาย

หลักทั่วไปของการบังคับใช้กฎหมาย คือ เมื่อมีกฎหมายฉบับใดให้อำนาจในการคุ้มครองผู้บริโภคไว้เป็นการเฉพาะแล้วก็ต้องบังคับตามกฎหมายฉบับนั้น ตัวอย่างเช่น กรณีที่ผู้บริโภคถูกละเมิดสิทธิเกี่ยวกับเรื่องอาหาร ผู้บริโภคสามารถไปร้องเรียนที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 ซึ่งเป็นกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคเฉพาะเรื่องสินค้าอาหารเท่านั้น แต่ถ้ากรณีไม่มีกฎหมายใด หรือหน่วยงานใดให้ความคุ้มครองผู้บริโภคเป็นการเฉพาะแล้วก็ต้องใช้ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งให้ความคุ้มครองในผู้บริโภคด้านสินค้าและบริการทั่วไป

2. กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคที่มีหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภค โดยการเข้าไปควบคุมตรวจสอบ และกำกับดูแลผู้ประกอบธุรกิจที่ผลิตสินค้าหรือบริการ เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับความเป็นธรรมและได้รับความปลอดภัยในการใช้สินค้าและการรับบริการ โดยสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

2.1 กฎหมายคุ้มครองเพื่อให้ผู้บริโภคได้รับความปลอดภัยในการใช้สินค้าและการรับบริการ เช่น
กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคโดยกระทรวงสาธารณสุข

- พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545
- พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522
- พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510
กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคโดยกระทรวงอุตสาหกรรม

- พระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511
- พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535

2.2 กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อให้ผู้บริโภคได้รับความเป็นธรรมในการใช้สินค้าและการรับบริการ เช่น
กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคโดยกระทรวงพาณิชย์

- พระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542
- พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542
กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคโดยกระทรวงยุติธรรม

- พระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540

เมื่อผู้บริโภคถูกละเมิดสิทธิหรือไม่ได้รับความเป็นธรรมจากผู้ประกอบธุรกิจเนื่องจากการใช้สินค้าหรือบริการ ผู้บริโภคย่อมได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายโดยผู้บริโภคสามารถร้องเรียนได้ที่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคประจำจังหวัด หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 เป็นกฎหมายฉบับเดียวที่มีอำนาจในการดำเนินคดีแทนผู้บริโภค เพื่อฟ้องเรียกทรัพย์สินหรือค่าเสียหายให้แก่ผู้บริโภคที่ถูกละเมิดสิทธิจากการใช้สินค้าและการรับบริการ โดยผู้บริโภคไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ในการดำเนินคดีแต่อย่างใด

กฏหมายคุ้มครองผู้บริโภค
กฏหมายคุ้มครองผู้บริโภคเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับการดำรงชีวิตของคนในสังคม โดยทั่วไปจะเกี่ยวข้องกับการบริโภคสินค้าและการใช้บริการ เช่น มนุษย์ต้องบริโภคอาหาร เครื่องดื่ม ต้องใช้บริการรถประจำทาง รถไฟฟ้า รวมทั้งบริการอื่น ๆเพื่ออำนวยความสะดวก เช่น การใช้บัตรเครดิต โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น ดังนั้นการบริโภคหรือการใช้บริการต่าง ๆจะต้องได้มาตรฐานและมีคุณภาพครบถ้วนตามที่ผู้ผลิตได้โฆษณาแนะนำไว้ ด้วยเหตุนี้ รัฐในฐานะผู้คุ้มครองดูแลประชาชน หากพบว่าประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากการบริโภคสินค้าและบริการจะต้องรีบ เข้าไปแก้ไขเยียวยาและชดเชยความเสียหายให้กับประชาชน

หน่วยงานที่คุ้มครองผู้บริโภคมีอยู่หลากหลายและกระจายตามประเภทของการบริโภคสินค้าและบริการ เช่น
1. กรณีที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อนเกี่ยวกับอาหาร ยา หรือเครื่องสำอาง เป็นหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณาสุข ที่ต้องเข้ามาดูแล
2. กรณีที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อนเกี่ยวกับมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมก็เป็นหน้าที่ของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ที่ต้องเข้ามาดูแล
3. กรณัที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อนเกี่ยวกับเจ้าของธุรกิจจัดสรรที่ดิน อาคารชุด เป็นหน้าที่ของกรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทยเข้ามาดูแล
4. กรณีที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อนเกี่ยวกับคุณภาพหรือราคาสินค้าอุปโภคบริโภค เป็นหน้าที่ของกรมการค้าภายใน กระทรวงพานิชย์ ที่ต้องเข้ามาดูแล


5. กรณีที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อนเกี่ยวกับการประกันภัยหรือประกันชีวิต เป็นหน้าที่ของกรมการประกันภัย กระทรวงพานิชย์ ที่ต้องเข้ามาดูแล



สำหรับพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 จัดเป็นกฎหมายเฉพาะที่ที่ไม่ซับซ้อนหรือขัดกับอำนาจหน้าที่ของหนาวยงานที่คุ้ทครองผู้บริโภคในด้านต่างๆ ตามตัวอย่างข้างต้น เพระาหากเกิดกรณีจำเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบมิได้ดำเนินการแก้ไขหรือดำเนินการไม่ครบถ้วนตามขั้นตอนของกฎหมาย ผู้เดือดร้อนสามารถร้องเรียนต่อสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีเพื่อให้สั่งการแก้ไขแทนได้ เพราะสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเป็นหน่วนงานคุ้มครองด้านการบริโภคสินค้าและบริการทั่วไป นอกเหนือจากการทำงานของหน่วยงานอื่น ๆ

กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค ได้บัญญัติสิทธิของผู้บรริโภคได้ 5 ประการคือ
1) สิทธิที่จะได้รับข่าวสาร รวมทั้งคำพรรณาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าและบริการ เพื่อการพิจารณาเลือกซื้อสินค้่หรือรับบริการอย่างถูกต้อง ทำให้ไม่หลงผิดในคุณภาพสินค้าและบริการ
2) สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกสินค้าและบริการดดยปราศจากการชักจูงก่อนตัดสินใจซื้อสินค้า
3) สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการสินค้าที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานเหมาะสมแก่การใช้ ไม่ก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือทรัพย์สิน ในกรณีที่ใช้ตามคำแนะนำของผู้ผลิต
4) สิทธิที่จะได้รับการพิพจารณาและชดเชยความเสียหาย อันหมายถึง สิทธิที่จะได้รับการคุ้มครอง และชดใช้ค่าเสียหาย เมื่อมีการละเมิดสิทธิผู้บริโภค

นอกจากนี้ ผู้บริโภคจะต้องปฏิบัติหน้าที่ของผู้บริโภค โดยไม่ขัดต่อกฎหมาย ในที่นี้จะขอหล่าวถึงหน้าที่ของผู้บริโภคที่ควรปฏิบัติ คือ
1) ผู้บริโภคต้องใช้ความระมัดระวังตามสมควรในการซื้อสินค้าหรือรับบรริการ เช่น ตรวจสอบฉลากแสดงราคาและปริมาณ ไม่หลงเชื่อในคำโฆษณาคุณภาพสินค้า
2) การเข้าทำสัญญาผูกมัดการตามกฎหมาย โดยการลงมือชื่อ ต้องตรวจสอบความชัดเจนของภาษาที่ใช้ตามสัญญาให้เข้าใจรัดกุม หรือควรปรึกษาผู้รู้ทางกฏหมายหากไม่เข้าใจ
3) ข้อตกลงต่าง ๆ ที่ต้องการให้มีผลบังคับใช้ ควรทำเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อผู้ประกอบธุรกิจด้วย
4) ผู้บริโภคมีหน้าที่เก็บหลักฐานไว้ เพื่อประโยชน์ในการเรียกร้องค่าเสียหาย
5) เมื่อมีการละเมิดสิทธิของผู้บริโภค ผู้บริโภคควรดำเนินการเรียกร้องต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือต่อคณะกรรมการคุ้มครอวผู้บรืโภค

วิชาพละศึกษา

วิธีการเล่นปิงปอง
           กีฬาเทเบิลเทนนิส หรือ ปิงปอง ที่เรารู้จักกันนั้น ถือเป็นกีฬาที่มีความยากในการเล่น เป็นอันดับต้นๆ ของโลก เนื่องจากธรรมชาติของกีฬาประเภทนี้นั้น ถูกจำกัดให้ตีลูกปิงปองลงบนโต๊ะของคู่ต่อสู้ ซึ่งพื้นที่บนฝั่งตรงข้ามมีเพียง พื้นที่ แค่ 4.5 ฟุต X 5 ฟุตเท่านั้น และลูกปิงปองยังมีความเบามาก เพียง 2.7 กรัม เท่านั้น และความเร็วในการเคลื่อนที่จากฝั่งหนึ่ง ไปยังอีกฝั่งหนึ่ง ยังใช้เวลาไม่ถึง 1 วินาทีอีกต่างหาก แถมลูกปิงปองที่ลอยอยู่ในอากาศนั้น ยังมีความหมุนรอบตัวเองอีกด้วย ซึ่งลูกปิงปองที่กำลังเคลื่อนที่มาหาเรานั้น เราจะต้องตีกลับไปอีกด้วย เพราะไม่ตี หรือ ตีไม่ได้ ก็หมายถึงการเสียคะแนนทันที
           แต่ในความยากนั้น ก็ย่อมมีประโยชน์สำหรับผู้เล่นเหมือนกัน เพราะ เป็นกีฬาที่ต้องใช้ทุกส่วนของร่างกายร่วมกันทั้งหมด ซึ่งส่วนต่างๆ ที่ต้องใช้ มี
1. สายตา
สายตาจะต้องจ้องมองลูกอยู่ตลอดเวลา แต่การจ้องลูกอย่างเดียวก็ยังไม่เพียงพอ เพราะจะต้องจ้องมองและสังเกตหน้าไม้ของคู่ต่อสู้อีกด้วยว่า ตีลูกความหมุนลักษณะใดมาหาเรา
2. สมอง
ปิงปอง เป็นกีฬาที่ต้องใช้สมองในการคิดเป็นอย่างมาก เพราะจะต้องคิดอยู่ตลอดเวลา รวมถึงต้องวางแผนการเล่นอีกด้วย
3. มือ
มือที่ใช้จับไม้ปิงปอง จะต้องคล่องแคล่วและว่องไว รวมถึงต้องรู้สึกได้เมื่อลูกปิงปองสัมผัสถูกหน้าไม้
4. ข้อมือ
ในการตีบางลักษณะ จำเป็นต้องใช้ข้อมือเข้าช่วย ลูกจึงจะมีความหมุนมากยิ่งขึ้น
5. แขน
ต้องมีพลกำลังและมีความอดทนในการฝึกซ้อมที่ต้องซ้อมแบบซ้ำและซ้ำอีก
6. ลำตัว
การตีลูกปิงปองในบางจังหวะ ต้องใช้ลำตัวเข้าช่วย
7. ต้นขา
แน่นอนว่าเมื่อกีฬาปิงปองเป็นกีฬาที่มีความเร็วสูง ต้นขาจึงต้องแข็งแรง และเตรียมพร้อมในการเคลื่อนที่ตลอดเวลา
8. หัวเข่า
ต้องย่อเข่า เพื่อเตรียมพร้อมในการเคลื่อนที่
9. เท้า
ต้องเคลื่อนที่เข้าหาลูกปิงปองตลอดเวลา หากเท้าไม่เคลื่อนที่เข้าหาลูกปิงปอง ก็จะทำให้ไม่มีฟุตเวิร์ด และตามตีลูกปิงปองไม่ทัน

วิชาภาษาอังกฤษ

School subject (สคูล ซับเจคฺ) วิชาในห้องเรียน

ภาษาอังกฤษคำอ่านความหมาย
readingรีดดิงวิชาการอ่าน
writingไรททิงวิชาการเขียน
literatureลิทเทรเชอวิชาวรรณกรรม
Thai languageไท แลงเกวจฺวิชาภาษาไทย
Englishอิงลิชฺวิชาภาษาอังกฤษ
Frenchเฟรนชฺวิชาภาษาฝรั่งเศส
Germanเจอแมนวิชาภาษาเยอรมัน
Japaneseเจแพนนีสฺวิชาภาษาญี่ปุ่น
Chineseไชนีสฺวิชาภาษาจีน
social studiesโซเชียล สตาดีสฺวิชาสังคม
sociologyโซสิออลอจีสังคมวิทยา
anthropologyแอนโธรพอลอจีมานุษยวิทยา
historyฮิสทรีวิชาประวัติศาสตร์
economicsเอ็คคอนอมิคฺสวิชาเศรษฐศาสตร์
business studyบิสฺเนสฺ สตาดีวิชาธุรกิจศึกษา
citizenshipซิทีเซ็นชิพฺวิชาหน้าที่พลเมือง
geographyจีออกราฟฟีวิชาภูมิศาสตร์
Religious educationรีลิเจียส เอ็ดดุเคเชินวิชาศาสนา
archaeologyอารฺคีโอโลจีวิชาโบราณคดี
health and hygeineเฮลธฺ แอนดฺ ไฮจีนวิชาสุขศึกษา
math / mathematicsแมธฺ / แมธฺเธอะแมทิคสฺวิชาคณิตศาสตร์
scienceไซเอินสฺวิชาวิทยาศาสตร์
physicsฟิสิกสฺวิชาฟิสิกส์
biologyไบออโลจีวิชาชีววิทยา
chemistryเคมมิสทรีวิชาเคมี
danceแดนซฺวิชานาฏศิลป์
PE / physical educationพีอี / ฟีซิคัล เอ็ดดุเคเชินวิชาพลศึกษา
boy scoutบอย สเคาทฺวิชาลูกเสือ
girl guideเกิรล ไกดฺวิชาเนตรนารี ยุวกาชาด
artอารทฺวิชาศิลปะ
botanyโบทานีวิชาเกษตร
home economicsโฮม เอ็คคอนอมิคฺวิชาการงานอาชีพ
computer scienceคอมพิวเทอรฺ ไซเอินสฺวิชาคอมพิวเตอร์
Information and communication technology (ICT)อินฟอเมเชิน แอนดฺ คอมมิวนิเคเชิน เทคนอลอจี (ไอซีที)วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
musicมิวซิคฺวิชาดนตรี
dramaดรามาวิชาการแสดง
psychologyไซคอลอจีวิชาจิตวิทยา
woodworkวูดเวิรคฺวิชางานไม้
guidanceไกดฺแดนซฺวิชาแนะแนว