วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

หัวบล็อก


วิชาการงานอาชีพ

การเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีมุ่งพัฒนาผู้เรียนแบบองค์รวม เพื่อให้มีความรู้ความสามารถ มีทักษะในการทำงาน เห็นแนวทางในการประกอบอาชีพและการศึกษาต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
  • การดำรงชีวิตและครอบครัว เป็นสาระเกี่ยวกับการทำงานในชีวิตประจำวัน ช่วยเหลือตนเอง ครอบครัว และสังคมได้ในสภาพเศรษฐกิจที่พอเพียง ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม เน้นการปฏิบัติจริง จนเกิดความมั่นใจและภูมิใจในผลสำเร็จของงาน เพื่อให้ค้นพบความสามารถ ความถนัด และความสนใจของตนเอง
  • การออกแบบและเทคโนโลยี เป็นสาระการเรียนรู้ที่เกี่ยวกับการพัฒนาความสามารถของมนุษย์อย่างสร้างสรรค์ โดยนำความรู้มาใช้กับกระบวนการเทคโนโลยี สร้างสิ่งของ เครื่องใช้ วิธีการ หรือเพิ่มประสิทธิภาพในการดำรงชีวิต
  • เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นสาระเกี่ยวกับกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ การติดต่อสื่อสาร การค้น หาข้อมูล การใช้ข้อมูลและสารสนเทศ การแก้ปัญหาหรือการสร้างงาน คุณค่าและผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
  • การอาชีพ เป็นสาระที่เกี่ยวข้องกับทักษะที่จำเป็นต่ออาชีพ เห็นความสำคัญของคุณธรรม จริยธรรม และเจตคติที่ดีต่ออาชีพ ใช้เทคโนโลยีได้เหมาะสม เห็นคุณค่าของอาชีพสุจริต และเห็นแนวทางในการประกอบอาชีพ

วิชาคริสต์ศาสนา

 พิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ ในความหมายของคาทอลิกคือเครื่องหมายภายนอกที่แสดงพระพรของพระเจ้ามาสู่มนุษย์ ทำให้ศักดิ์สิทธิ์

      ชีวิตเริ่มต้นด้วยพิธีล้างบาป เจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ด้วยพิธีรับพระจิต วิญญาณของเราได้รับการรักษาทางใจและกายด้วยพิธีอภัยบาปและ พิธีเจิมคนไข้ ครอบครัวเริ่มต้นด้วยพิธีสมรส พระศาสนจักรจะคงอยู่ได้ด้วยพิธีบวช และพระเยซูสถิตกับเราในพิธีบูชาขอบพระคุณ ทั้งหมดนี้เป็นพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ที่พระเยซูทรงตั้งขึ้นในโลก

      พระองค์ตรัสว่ามนุษย์จะต้องเกิดใหม่ด้วยน้ำและพระจิตเจ้า เพื่อเข้าพระอาณาจักรของพระองค์(ยน 3:5) พระองค์ทรงประทานพระจิตเจ้า(ยน 20:22) พระองค์ทรงอภัยบาปบุตรของพระองค์(มก 2:5) พระเยซูทรงปรารถนาให้เราดำเนินชีวิตในสันติสุข (มก 5:34) ทรงนำคนสองคนมาอยู่รวมกันและอวยพรพวกเขา (มธ  13:6) พระองค์ทรงเรียกนักบุญเปโตรมาเป็นผู้ช่วยคนแรกของพระองค์และประทานพระกายและพระโลหิตของพระองค์ให้เป็นอาหารของพวกเขา(ยน 6:56) ทุกสิ่งที่พระองค์ทรงกระทำนั้น ยังคงกระทำอยู่จนถึงวันนี้

  • พิธีล้างบาป พิธีรับพระจิตและพิธีบูชาขอบพระคุณ เป็นการให้พระพรศักดิ์สิทธิ์แห่งชีวิตและประกาศข่าวดีแก่ชาวโลก
  • พิธีอภัยบาปและพิธีเจิมคนไข้ เป็นการรักษาโรคร้ายของเราทั้งกายและจิตใจ
  • พิธีสมรสและพิธีบวช เป็นการเผื่อแผ่ควาสมสุขให้แก่ผู้อื่น
     พิธีทั้งหมดนี้เป็นเรื่องของความเชื่อและบำรุงความเชื่อ จึงไม่ใช่เป็นเพียงแต่การรับเท่านั้น แต่เป็นการเฉลิมฉลองและการดำเนินชีวิต

     เราได้รับในโลกนี้ พระเจ้าทรงประทานจากเบี้องบน

     พระเยซูคริสตเจ้าทรงช่วยเราให้รอดพ้นจากความทุกข์และมีความสุขแท้ อาศัยพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์เหล่านี้

วิชาวิทยาศาสตร์

วิทยาศาสตร์ [note 1] หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ในธรรมชาติทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต รวมทั้งกระบวนการประมวลความรู้เชิงประจักษ์ ที่เรียกว่ากระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และกลุ่มขององค์ความรู้ที่ได้จากกระบวนการดังกล่าว
การศึกษาในด้านวิทยาศาสตร์ยังถูกแบ่งย่อยออกเป็น วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ และ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ คำว่า science ในภาษาอังกฤษ ซึ่งแปลว่า วิทยาศาสตร์นั้น มาจากภาษาลาติน คำว่า scientia ซึ่งหมายความว่า ความรู้ ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ฟรานซิส เบคอนได้พยายามคิดค้นวิธีมาตรฐานในการอุปนัย เพื่อนำมาใช้สร้างทฤษฎีหรือกฎต่าง ๆ ทางวิทยาศาสตร์จากข้อมูลที่ทดลองหรือสังเกตได้จากธรรมชาติ เป็นผู้ถอนรื้อและปรับปรุงแนวความคิดเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สมัยเก่า ที่ยึดกับแนวความคิดของอริสโตเติลทิ้งไป. ณ ขณะนั้น กาลิเลโอได้กำหนดลักษณะสำคัญของวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ไว้ดังนี้
  • ทำนายสิ่งที่เกิดขึ้นในปรากฏการณ์ธรรมชาติได้ โดยที่ไม่จำเป็นต้องอธิบายสาเหตุได้ เช่น ในขณะที่ยังไม่มีความรู้เรื่องแรงโน้มถ่วงนั้น กาลิเลโอไม่สนใจที่จะอธิบายว่า "ทำไมวัตถุถึงตกลงสู่พื้นดิน ?" แต่สนใจคำถามที่ว่า "เมื่อมันตกแล้ว มันจะถึงพื้นภายในเวลาเท่าใด ?"
  • ใช้คณิตศาสตร์เพื่อเป็นภาษาหลักของวิทยาศาสตร์ (ดูหัวข้อ คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์)
ในเวลาต่อมา ไอแซก นิวตันได้ต่อเติมรากฐานและระบบระเบียบของแนวคิดเหล่านี้ และเป็นต้นแบบสำหรับสาขาด้านอื่น ๆ ของวิทยาศาสตร์
ก่อนหน้านั้น, ในปี ค.ศ. 1619 เรอเน เดส์การตส์ ได้เริ่มเขียนความเรียงเรื่อง Rules for the Direction of the Mind (ซึ่งเขียนไม่เสร็จ). โดยความเรียงชิ้นนี้ถือเป็นความเรียงชิ้นแรกที่เสนอกระบวนการคิดเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สมัยใหม่และปรัชญาสมัยใหม่. อย่างไรก็ตามเนื่องจากเดส์การตส์ได้ทราบเรื่องที่กาลิเลโอ ผู้มีความคิดคล้ายกับตนถูกเรียกสอบสวนโดย โป๊ปแห่งกรุงโรม ทำให้เดส์การตส์ไม่ได้ตีพิมพ์ผลงานชิ้นนี้ออกมาในเวลานั้น
การพยายามจะทำให้ระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์เป็นระบบนั้น ต้องพบกับปัญหาของการอุปนัย ที่ชี้ให้เห็นว่าการคิดแบบอุปนัย (ซึ่งเริ่มต้นโดยฟรานซิส เบคอน) นั้น ไม่ถูกต้องตามหลักตรรกศาสตร์. เดวิด ฮูมได้อธิบายปัญหาดังกล่าวออกมาอย่างละเอียด คาร์ล พอพเพอร์ในความคิดลักษณะเดียวกับคนอื่น ๆ ได้พยายามอธิบายว่าสมมติฐานที่จะใช้ได้นั้นจะต้องทำให้เป็นเท็จได้ (falsifiable) นั่นคือจะต้องอยู่ในฐานะที่ถูกปฏิเสธได้ ความยุ่งยากนี้ทำให้เกิดการปฏิเสธความเชื่อพื้นฐานที่ว่ามีระเบียบวิธี 'หนึ่งเดียว' ที่ใช้ได้กับวิทยาศาสตร์ทุกแขนง และจะทำให้สามารถแยกแยะวิทยาศาสตร์ ออกจากสาขาอื่นที่ไม่เป็นวิทยาศาสตร์ได้
ปัญหาเกี่ยวกระบวนการปฏิบัติของวิทยาศาสตร์มีความสำคัญเกินขอบเขตของวงการวิทยาศาสตร์ หรือวงการวิชาการ ในระบบยุติธรรมและในการถกเถียงปัญหาเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะ การศึกษาที่ใช้วิธีการนอกเหนือจาก แนวปฏิบัติทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นที่ยอมรับ จะถูกปฏิเสธ และถูกจัดว่าเป็น "วิทยาศาสตร์เทียม"

วิชาดนตรี

ความรู้ทางดนตรี

ดนตรี
คือ เสียงที่จัดเรียงอย่างเป็นระเบียบ และมีแบบแผนโครงสร้าง เป็นรูปแบบของกิจกรรมเชิงศิลปะของมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับเสียง โดยดนตรีนั้นแสดงออกมาในด้านระดับเสียง (ซึ่งรวมถึงท่วงทำนองและเสียงประสานจังหวะ และคุณภาพเสียง (ความต่อเนื่องของเสียง พื้นผิวของเสียง ความดังค่อย) ดนตรีนั้นสามารถใช้ในด้านศิลปะหรือสุนทรียศาสตร์ การสื่อสาร ความบันเทิง รวมถึงใช้ในงานพิธีการต่างๆ

องค์ประกอบของดนตรี

ประกอบด้วย
1. เสียง (Tone)
เสียงเกิดจากการสั่นสะเทือนของอากาศที่เป็นไปอย่างสม่ำ เสมอ ส่วนเสียงอึกทึกหรือเสียงรบกวน (Noise) เกิดจากการสั่นสะเทือนของอากาศที่ไม่สม่ำเสมอ ลักษณะความแตกต่างของเสียงขึ้นอยู่กบคุณสมบัติสำคัญ 4ประการ คือ ระดับเสียง ความยาวของเสียง ความเข้มของเสียง และคุณภาพของเสียง
1.1 ระดับเสียง (Pitch) หมายถึง ระดับความสูง-ต่ำของเสียง ซึ่งเกิดการจำนวนความถี่ของการสั่นสะเทือน กล่าวคือ ถ้าเสียงที่มีความถี่สูง ลักษณะการสั่นสะเทือนเร็ว จะส่งผลให้มีระดับเสียงสูง แต่ถ้าหากเสียงมีความถี่ต่ำ ลักษณะการสั่นสะเทือนช้าจะส่งผลให้มีระดับเสียงต่ำ
1.2 ความสั้น-ยาวของเสียง (Duration) หมายถึง คุณสมบัติที่เกี่ยวกับความยาว-สั้นของเสียง ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่สำคัญอย่างยิ่งของการกำหนดลีลา จังหวะ ในดนตรีตะวันตก การกำหนดความสั้น-ยาวของเสียง สามารถแสดงให้เห็นได้จากลักษณะของตัวโน้ต เช่น โน้ตตัวกลม ตัวขาว และตัวดำ เป็นต้น สำหรับในดนตรีไทยนั้น แต่เดิมมิได้ใช้ระบบการบันทักโน้ตเป็นหลัก แต่ย่างไรก็ตาม การสร้างความยาว-สั้นของเสียงอาจสังเกตได้จากลีลาการกรอระนาดเอก ฆ้องวง ในกรณีของซออาจแสดงออกมาในลักษณะของการลากคันชักยาวๆ
1.3 ความเข้มของเสียง (Intensity) ความเข้มของสียงเกี่ยวข้องกับน้ำหนักของความหนักเบาของเสียง ความเข้มของเสียงจะเป็นคุณสมบัติที่ก่อประโยชน์ในการเกื้อหนุนเสียงให้มี ลีลาจังหวะที่สมบูรณ์
1.4 คุณภาพของเสียง (Tone Quality) เกิดจากคุณภาพของแหล่งกำเนิดเสียงที่แตกต่างกัน ปัจจัยที่ทำให้คุณภาพของเสียงเกิดความแตกต่างกันนั้น เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น วิธีการผลิตเสียง รูปทรงของแหล่งกำเนิดเสียง และวัสดุที่ใช้ทำแหล่งกำเนิดเสียง ปัจจัยเหล่านี้ก่อให้เกิดลักษณะคุณภาพของเสียง ซึ่งเป็นหลักสำคัญให้ผู้ฟังสามารถแยกแยะสีสันของสียง (Tone Color) ระหว่างเครื่องดนตรีเครื่องหนึ่งกับเครื่องหนึ่งได้อย่างชัดเจน
1.5 “สีสันของเสียง” (Tone color ) หมายถึง คุณลักษณะของเสียงที่กำเนิดจากแหล่งเสียงที่แตกต่างกัน แหล่งกำเนิดเสียงดังกล่าว เป็นได้ทั้งที่เป็นเสียงร้องของมนุษย์และเครื่องดนตรีชนิดต่างๆ ความแตกต่างของเสียงร้องมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นระหว่างเพศชายกับเพศหญิง หรือระหว่างเพศเดียวกัน ซึ่งล้วนแล้วแต่มีพื้นฐานของการแตกต่างทางด้านสรีระ เช่น หลอดเสียงและกล่องเสียง เป็นต้น

วิชาภาษาจีน

  1. 1. บันทึกหน่วยการเรียนรู้และกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ 1) หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง การสะกดพินอิน เวลา 5 ชั่วโมง รายวิชา ภาษาจีน1 รหัส จ 20201 ระดับชั้น ม.1 (วิชาเลือก) 2) ผลการเรียนรู้ ผลการเรียนรู้ 2 ระบุสัทอักษรตามระบบพินอิน และประสมเสียงคาง่าย ๆตามหลักการออกเสียง ผลการเรียนรู้ 4 ตอบคาถามง่าย ๆ จากการฟัง ผลการเรียนรู้ 7 พูดโต้ตอบด้วยประโยคสั้น ๆ เพื่อสื่อสารระหว่างบุคคล ผลการเรียนรู้ 6 พูดเพื่อขอและให้ข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง เพื่อน ครอบครัวและสิ่งใกล้ตัว 3) ความคิดรวบยอด พูดโต้ตอบสั้นๆ ด้วยถ้อยคาสุภาพ อ่านออกเสียงคา วลี ข้อความ และบทความได้ถูกต้องตามหลักการออกเสียง อีกทั้งเข้าใจความแตกต่างระหว่างภาษาจีนกับภาษาไทยในเรื่องคา วลี สานวน ประโยค ข้อความต่างๆ และนาไปใช้ใน สถานการณ์ต่างๆอย่างถูกต้องเหมาะสม 4) สาระการเรียนรู้ ความรู้(K) – พูดโต้ตอบ – อ่านออกเสียง – เข้าใจ ทักษะกระบวนการ(P) – ถ้อยคาสุภาพตามมารยาท – คา วลี ข้อความ และบทความ – ความแตกต่างระหว่างภาษาจีนกับภาษาไทย คุณลักษณะอันพึงประสงค์ (A) – รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ – ซื่อสัตย์สุจริต 5) สมรรถนะของผู้เรียน – ความสามารถในการจดจา – ความสามารถในการสนทนา 6) ชิ้นงาน/ภาระงาน – พูดสนทนาโต้ตอบ -บอกลักษณะร่างกายของตนเอง เพื่อน และครอบครัวตามบทเรียน
  2. 2. 7) กิจกรรมการจัดการเรียนรู้ ชั่วโมงที่ 1 -2 ขั้นนาเข้าสู่บทเรียน 1. ครูทักทายนักเรียน 2. ครูสอนเกี่ยวกับการบอกชั้นในห้องเรียน 3. อธิบายซ้าหลาย ๆ ครั้งเพื่อให้แน่ใจว่านักเรียนเข้าใจ ขั้นสอน/ฝึกปฏิบัติ 1. ครูสอนวิธีอ่านพยัญชนะในภาษาจีนทั้งหมด 2. ให้นักเรียนฝึกอ่านด้วยตนเองซ้าไปมา 3. สอนเสียงสระจานวน 6 ตัว 4. ให้นักเรียนฝึกอ่านด้วยตนเองซ้าไปมา 5. อธิบายนักเรียนเกี่ยวกับวิธีการประสมเสียงพยัญชนะ ในภาษาจีน b-h กับสระ ทั้ง 6 ตัว เช่น ba mo de ni gu lü ชั่วโมงที่ 3-4 ขั้นนาเข้าสู่บทเรียน 1. ครูทักทายนักเรียน 2. ให้นักเรียนอ่านทบทวนพยัญชนะและสระที่เรียนมาทั้งหมด b p m f p t n l g k h j q x z c s zh ch sh r y w a o e I u ü
  3. 3. ขั้นสอน/ฝึกปฏิบัติ 1. ทบทวนวิธีการประสมเสียงพยัญชนะ ในภาษาจีน b-h กับสระ ทั้ง 6 ตัว 2. อธิบายเกียวกับการผันเสียงในภาษาจีน เช่น bā bá bǎ bà 3. ให้นักเรียนฝึกผันเสียง ซ้า ๆ ไปมา จนแน่ใจว่านักเรียนเริ่มคล่อง 4. เล่นเกมส์ โดยให้คะแนนนักเรียนที่สามารถเขียนตามคาบอกพินอินได้อย่างถูกต้อง ตามหลักการประสม คา 5. สอนเสียงสระเพิ่มให้ครบทั้งหมด โดยอธิบายหลักการออกเสียงที่ถูกต้อง เช่น ai มาจาก เสียง a + i = ai 6. ให้นักเรียนฝึกอ่านด้วยตนเองทั้งหมดซ้าไปมาหลาย ๆ ครั้ง 7. ให้ภาระงานนักเรียน ท่องพยัญชนะ และสระทั้งหมด ชั่วโมงที่ 5-6 ขั้นนาเข้าสู่บทเรียน 1. ครูทักทายนักเรียน 2. ให้นักเรียนอ่านทบทวนพยัญชนะและสระที่เรียนมาทั้งหมด ขั้นสอน/ฝึกปฏิบัติ 1. ทบทวนวิธีการประสมเสียงพยัญชนะ ในภาษาจีน b-h กับสระ ทั้งหมด 2. ครูอธิบายการประสมเสียงพยัญชนะ ในภาษาจีน j-x กับสระ ทั้งหมด เช่น j q x ใช้ได้กับสระ i และ ü หรือสระผสมที่ขึ้นต้นด้วย i และ ü เท่านั้น เช่น ji jü qi xüe หมายเหตุ เนื่องจาก j q x ไม่สามารถผสมกับสระอื่นได้นอกจาก i และ ü ดังนั้นเวลาเขียน สระ ü จึงไม่นิยมใส่ จุด เช่น ju quan xue 3. ตั้งคาถามนักเรียนเพื่อให้นักเรียนเข้าใจหลักเกณฑ์ เช่น j q x ประสมกับสระ aได้ไหม เพราะอะไร 4. ครูอธิบายการประสมเสียงพยัญชนะ ในภาษาจีน z-r กับสระ ทั้งหมด เช่น z c s zh ch sh r ไม่สามารถใช้ผสมได้กับสระ ü หรือสระผสมที่ ขึ้นต้นด้วย i และ ü เท่านั้น เช่น ji jü qi xüe
  4. 4. หมายเหตุ z c s zh ch sh r ผสมได้กับสระ i อ่านว่าออกเสียงเป็น “อือ” เช่น zi ci si shi 5. ตั้งคาถามนักเรียกรนเพื่อให้นักเรียนเข้าใจหลักเกณฑ์ เช่น zh ประสมกับสระ aได้ไหม เพราะอะไร และ zh ประสมกับสระ ia ได้ไหม เพราะอะไร 6. เล่นเกมส์เขียนตามคาบอกบนกระดาน ชั่วโมงที่ 7-8 1. ครูทักทายนักเรียน 2. ให้นักเรียนอ่านทบทวนพยัญชนะและสระที่เรียนมาทั้งหมด ขั้นสอน/ฝึกปฏิบัติ 1. ทบทวนวิธีการประสมเสียงพยัญชนะ ในภาษาจีน กับสระ ทั้งหมด 2. ตั้งคาถามนักเรียนเพื่อให้นักเรียนเข้าใจหลักเกณฑ์การประสมคา เช่น j q x ประสมกับสระ aได้ไหม เพราะอะไร 3. ครูอธิบายการประสมเสียงพยัญชนะ ในภาษาจีน y-w กับสระ ทั้งหมด เช่น y+a=ya w+a=wa y+e=ye w+o=wo y+in=yin w+u=wu y+ing=ying w+ai=wai y+ao=yao w+an=wan y+an=yan w+ang=wang y+ang=yang y+a=yong y+u=yu y+=yue y+a=yun y+a=yuan
  5. 5. 4. ตั้งคาถามนักเรียกรนเพื่อให้นักเรียนเข้าใจหลักเกณฑ์ เช่น y ประสมกับสระ aได้ไหม เพราะอะไร และ w ประสมกับสระ ü ได้ไหม เพราะอะไร 5. เล่นเกมส์เขียนตามคาบอกบนกระดาน 8) ขั้นสรุปการเรียนรู้ 1. ครูทบทวนคาศัพท์และประโยคต่างๆ ทั้งหมดในบทเรียน 2. นักเรียนสนทนาคู่เกี่ยวกับเนื้อหาในบทเรียน 9) การวัดและประเมินผล การประเมินผล เกณฑ์การประเมิน 4 3 2 1 การพูด สื่อสารได้ตรงประเด็น เนื้อหาถูกต้องตามหัวข้อ ที่กาหนด ออกเสียง ถูกต้องใช้คาศัพท์ สานวน และโครงสร้าง ภาษาถูกต้อง สื่อสารได้ตรง ประเด็น เนื้อหาถูกต้อง เป็นส่วนใหญ่ ออกเสียงได้ ถูกต้อง สื่อสารได้ตรง ประเด็นเป็น บางส่วน เนื้อหา และการออกเสียง ถูกต้องเป็นบางส่วน สื่อสารได้ เนื้อหาน้อย ออกเสียง ไม่ถูกต้อง เป็นส่วนใหญ่ การประเมินสาระการเรียนรู้ 1) การประเมินความรู้ (K) วิธีประเมิน เกณฑ์การพูดสนทนา เกณฑ์การอ่านออกเสียง 2) การประเมินทักษะกระบวนการ/ตัวบ่งชี้พฤติกรรม (P) วิธีประเมิน เกณฑ์การประเมินไวยากรณ์และการสะกดคา 3) การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (A) วิธีประเมิน เกณฑ์การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 10) แหล่งเรียนรู้และสื่อประกอบการเรียนรู้ – คอมพิวเตอร์, โทรทัศน์ – ใบความรู้ – ซีดีประกอบการฟัง – แบบฝึกคัดตัวอักษรจีน

วิชาลูกเสือ-เนตรนารี

“เสียชีพอย่าเสียสัตย์” เป็นคำขวัญพระราชทานของลูกเสือ สาระพื้นฐานที่สอนในวิชาลูกเสือระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา คือ กฎของลูกเสือ 10 ข้อได้แก่ 1) ลูกเสือมีเกียรติเชื่อถือได้ 2) ลูกเสือมีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และซื่อตรงต่อผู้มีพระคุณ 3) ลูกเสือมีหน้าที่กระทำตนให้เป็นประโยชน์และช่วยเหลือผู้อื่น 4) ลูกเสือเป็นมิตรของคนทุกคนและเป็นพี่น้องกับลูกเสืออื่นทั่วโลก 5) ลูกเสือเป็นผู้สุภาพเรียบร้อย 6) ลูกเสือมีความเมตตากรุณาต่อสัตว์ 7) ลูกเสือเชื่อฟังคำสั่งของบิดามารดา และผู้บังคับบัญชาด้วยความเคารพ 8) ลูกเสือมีใจร่าเริง และไม่ย่อท้อต่อความยากลำบาก 9) ลูกเสือเป็นผู้มัธยัสถ์ และ 10) ลูกเสือประพฤติชอบด้วยกาย วาจา ใจ